เรื่องราวเริ่มต้นกัญชง กระตุ้นเศรษฐกิจในยุคแรกของเอเชีย และถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดแรกของโลก – เจมส์ โซล ราดินา, History of Hemp, 2016 กัญชง เป็นพืชที่มีอยู่มาอย่างยาวนาน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามีได้มีการปลูกครั้งแรกที่ไหน และเมื่อไหร่ เมื่อย้อนกลับไปในช่วง 8000 ปีก่อนคริสตกาล ในตะวันออกกลาง ทำให้รู้ว่า คำว่า "Canvas" แท้จริงแล้วมาจากคำว่า Cannabis ที่เป็นชื่อของ กัญชง ในภาษาไซเธียนโบราณ แต่ก็มีผู้ที่เสนอว่ามีการปลูก กัญชง ครั้งแรก ในเอเชียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล เนื่องจากมีการเพาะปลูกต้น กัญชง ในเขตที่อยู่อาศัยของผู้คนในประเทศจีน และในที่สุดก็ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อผลิตผ้า และเกิดเป็นการค้ากับประเทศญี่ปุ่น ผ้าใยกัญชง ได้เข้ามาแทนที่หนังสัตว์ในประเทศจีนโบราณ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่สวมใส่กันในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความแข็งแรง และราคาถูก และยังผ้าใยกัญชงก็ยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่อง จนถึงศตวรรษที่ 13 เมื่อฝ้ายที่นำเข้าจากอินเดียได้เริ่มเข้ามา (อ่านต่อ...) แพร่กระจายไปทั่วโลกการใช้ผ้าใยกัญชง แพร่กระจายจากประเทศจีนไปทั่วโลกเป็นเวลาหลายพันปี โดยสหราชอาณาจักรได้ทำการเพาะปลูก กัญชง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และเกษตรกรชาวอเมริกัน ถูกกำหนดให้ปลูกตามกฎหมาย ในศตวรรษที่ 18 ในความเป็นจริงกัญชงเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ และเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา โดยมีธงชาติอเมริกันผืนแรกที่ทำจากใยกัญชง และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ ‘Hemp for Victory’ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกัญชง เพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการสงคราม ในขณะที่ประเทศไทยก็มีหลักฐานที่บันทึกไว้ว่ามีการใช้ กัญชา (พืชชนิดเดียวกับกัญชง) เป็นตำรับยาทางการแพทย์แผนไทย สืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในช่วงศตวรรษที่ 16 ตำราพระโอสถพระนารายณ์ หรือ คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ เป็นหลักฐานทางการแพทย์ไทยชิ้นสำคัญ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเกี่ยวกับตำรายานี้ไว้ว่า “ที่เรียกว่าตำราพระโอสถพระนารายณ์ เพราะมีตำราพระโอสถซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลายขนานปรากฏชื่อหมอและวันคืนที่ได้ตั้งพระโอสถนั้นๆ จดไว้ชัดเจน อยู่ในระหว่างปีกุนจุลศักราช 1021 (พ.ศ. 2202) จนปีฉลู จุลศักราช 1023 (พ.ศ. 2204) คือระหว่างปีที่ 3 จนถึงปีที่5 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช” สงครามกัญชงด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ ฝ้าย จากการค้นพบเครื่องปั่นฝ้ายในอุตสาหกรรมยุคใหม่ และการกำเนิดขึ้นของผ้าใยสังเคราะห์ รวมกับ ‘สงครามต่อต้านยาเสพติด’ ที่รุนแรงของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1970 ทำให้ กัญชง และ กัญชา ผิดกฎหมาย เมื่อสื่อมวลชน นักการเมือง และบริษัทต่างๆ อ้างว่า กัญชง นั้นส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้บทบาทของเส้นใยกัญชง ลดลงไป แทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ที่ทำจากสารเคมี เช่น ไนลอนและโพลีเอสเตอร์กลายเป็นกระแส ใน ค.ศ. 1950 ปัจจุบันกัญชา เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจ และประชาชน - อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในงานแถลงข่าวการพัณนากัญชาเพื่อเศรษฐกิจไทย ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และขยะ (Waste) กัญชงจึงเริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง เนื่องด้วยความต้องการวัสดุทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำลังมีความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในสหรัฐอเมริกานักรณรงค์ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ กัญชง และ กัญชา เป็นพืชที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถเพาะปลูกได้ใน 8 รัฐ และล่าสุดก็ได้มีการปลดล็อค ข้อกฎหมายต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีการอนุญาตให้สามารถปลูกกัญชงได้ สิ่งสำคัญที่อาจจะทำให้ กัญชง กลับมามีบทบาทอีกครั้ง คือ สรรพคุณที่มากมาย และประโยชน์ที่หลากหลายของ กัญชง ทำให้แบรนด์ที่เป็นที่นิยมเริ่มให้ความสำคัญกับ กัญชง ในฐานะสิ่งทอทางเลือกใหม่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เพิ่มความเป็นไปได้ของสิ่งทอเส้นใย กัญชง นอกจากนี้ กัญชง ยังสามารถผสมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น ผ้าฝ้าย หรือผ้าเทนเซล เพื่อให้มีสัมผัสที่นุ่มขึ้น และก่อเกิดเป็นเสื้อผ้าที่หลากหลายตั้งแต่ชุดเดรสไปจนถึงจั้มสูท ทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด พร้อมทั้งมีรอยเท้าเชิงนิเวศ (Eco-Footprint) ที่น้อยซึ่งถือว่าดีมาก นอกจากสิ่งทอแล้ว กัญชง ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอุตสาหกรรม จากการค้นพบคุณสมบัติของสารสำคัญ ได้แก่ THC(Tetrahydrocannabinol) และ ซีบีดี CBD (Cannabidiol) ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ความงาม เครื่องดื่ม อาหาร ยา และอีกมากมายที่ยังพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง อนาคตของกัญชงในประเทศไทยกัญชง มีศักยภาพในการเป็นพืชเศรษฐกิจ (Cash Crop) โดยใช้ประโยชน์จากกัญชงทั้งเพื่อสารสกัด CBD น้ำมันเมล็ดกัญชง และเส้นใย (Fiber) ซึ่งความต้องการสารสกัด CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่มีแนวโน้มเติบโตทั้งในประเทศและตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม อาหารเสริมอาหารสัตว์ รวมถึงเส้นใย สำหรับเป็นวัตถุดิบในสินค้านวัตกรรม เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ พลาสติกชีวภาพเป็นต้น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนเพาะปลูก กัญชง เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยมีการประเมินว่า ตลาดกัญชงโลกในปี พ.ศ. 2563 มีมูลค่าราว 4,748 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเร่งตัวขึ้นไปแตะ 18,608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 22.4 ต่อปี Comments are closed.
|