คงไม่มีใครคาดคิดว่าวัตถุดิบจากส่วนต่างๆ ของกัญชา กัญชงจะสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากมาย และกลายมาเป็นวัตถุดิบซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในปี 2564 ในการผลิตสินค้าต่างๆ ทั้งน้ำมันเมล็ดกัญชง และ CBD หรือ Cannabidiol ก่อนหน้านี้ในปี 2561 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติยา CBD ตัวแรกสำหรับควบคุมอาการชักโรคลมบ้าหมู - ยี่ห้อ Epidiolex และในปีเดียวกันนั้น ตลาดกัญชงทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามการวิจัยที่คาดการณ์ว่าตลาดจะขยายตัว โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 33% ต่อปี จากข้อมูลของ “MarketsandMarkets” คาดการณ์ว่า ในปี 2563 ตลาดกัญชาโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท และจะทะยานสู่กว่า 3 ล้านล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า
กัญชา กัญชง ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมาก ย้อนเรื่องราวไปประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมามีเรื่องของการปลูกกัญชา กัญชง เพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจ และเพื่อไว้พัฒนาเป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ สำหรับในวงการแพทย์นั้น ได้มีการนำ กัญชา มาสกัดมาเพื่อประโยชน์ทางยาและการรักษามานานหลายปี และจากการที่หลายประเทศได้ให้ความสำคัญ คิดค้นการทำการสกัดตัวยาหลายชนิดออกมาทั้งจาก กัญชา และ กัญชง จึงได้พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิดที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย จนปัจจุบันมีการนำเรื่องราวของสมุนไพรเหล่านี้มารวมอยู่ในอาหาร สิ่งอุปโภค และบริโภคหลายชนิด (อ่านต่อ...)
เราคงเคยได้ยินเรื่องของการนำใบ กัญชา ลงไปผสมในหม้อน้ำซุปในร้านก๋วยเตี๋ยวสมัยก่อน โดยจะมีเรื่องเล่าว่าร้านนี้มีรสชาติความหวานของน้ำเป็นอย่างมาก ทานแล้วก็รู้สึกมีรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ อาจจะเป็นเรื่องเล่าขานที่ถูกส่งต่อมาเป็นระยะเวลานาน และเราก็จะแทบไม่เคยเห็นกันว่าร้านอาหารทำแบบนั้นกันจริงๆ แต่ในปัจจุบัน การนำใบ กัญชา กัญชง ผสมในอาหารเป็นเรื่องที่สามารถเห็นได้โดยทั่วไป และสามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย (อ่านต่อ...)
เรื่องราวเริ่มต้นกัญชง กระตุ้นเศรษฐกิจในยุคแรกของเอเชีย และถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดแรกของโลก – เจมส์ โซล ราดินา, History of Hemp, 2016 กัญชง เป็นพืชที่มีอยู่มาอย่างยาวนาน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามีได้มีการปลูกครั้งแรกที่ไหน และเมื่อไหร่ เมื่อย้อนกลับไปในช่วง 8000 ปีก่อนคริสตกาล ในตะวันออกกลาง ทำให้รู้ว่า คำว่า "Canvas" แท้จริงแล้วมาจากคำว่า Cannabis ที่เป็นชื่อของ กัญชง ในภาษาไซเธียนโบราณ แต่ก็มีผู้ที่เสนอว่ามีการปลูก กัญชง ครั้งแรก ในเอเชียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล เนื่องจากมีการเพาะปลูกต้น กัญชง ในเขตที่อยู่อาศัยของผู้คนในประเทศจีน และในที่สุดก็ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อผลิตผ้า และเกิดเป็นการค้ากับประเทศญี่ปุ่น ผ้าใยกัญชง ได้เข้ามาแทนที่หนังสัตว์ในประเทศจีนโบราณ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่สวมใส่กันในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความแข็งแรง และราคาถูก และยังผ้าใยกัญชงก็ยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่อง จนถึงศตวรรษที่ 13 เมื่อฝ้ายที่นำเข้าจากอินเดียได้เริ่มเข้ามา (อ่านต่อ...)
กัญชา และ กัญชง (Cannabis) เคยเป็นหนึ่งในพืชทางการเกษตรที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ผ่านมา และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างมากเมื่อความนิยมของ กัญชง ได้ลดน้อยลง จนถึงขนาดที่ว่า ผู้คนทั่วไปแทบจะไม่รู้จักว่าพืชชนิดนี้คืออะไร มีประโยชน์อะไรนอกจากจะเป็นพืชที่ทำให้คุณมึนเมา (อ่านต่อ...)
กัญชา เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางกันมานานแล้ว แต่ก็มีพืชอีกชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันที่หากมองเผินๆแล้วไม่แตกต่างกัน นั่นคือ กัญชง และตอนนี้ กัญชง ก็เป็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าผิดว่า กัญชา กับ กัญชง คือพืชชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว ในความเหมือน ก็มีความแตกต่างที่ชัดเจนในตัวเอง (อ่านต่อ...)
"กัญชา" เป็นวัตถุดิบยอดนิยมในประเทศไทยซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง อย่าง ครีมบำรุงผิว, ลิปบาล์ม, น้ำหอม และเซรั่ม ซึ่งในส่วนของตัวกัญชา-กัญชงนั้น มีสรรพคุณทางสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดการอักเสบของผิว, มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยฟื้นฟูบำรุงผิวได้ เป็นต้น ซึ่งหากได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานมาใช้ในกระบวนการผลิต จะทำให้ผลผลิตของสกินแคร์ต่างๆมีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง (อ่านต่อ...)
ไทยยังคงเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่ดำเนินนโยบายกัญชาเสรีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดปลดล็อก กัญชา-กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยว่า กัญชา-กัญชง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด มีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา ยกเว้นแค่ดอก และเมล็ดกัญชา เพราะยังควบคุมเป็นยาเสพติดตามอนุสัญ ญายาเสพติดระหว่างประเทศให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ยังจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมทาง การแพทย์ (อ่านต่อ...)
กัญชา ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Sativa เป็นพืชล้มลุก มีใบเป็นแฉก 5-8 แฉก ลำต้นสูง 3-5 เมตร กัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งสารในกัญชามีมากกว่า 500 ชนิด แต่สารสำคัญที่มีข้อมูลทางด้านการศึกษามากมีสองตัวคือ สาร THC (Tetrahydrocannabinol) มีฤทธิ์ทำให้ติดและ เมา อีกหนึ่งสารที่มีสรรพคุณทางยา CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคได้ และไม่มีฤทธิ์ให้เมา และยังพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์และสารกลุ่มเทอร์ปีน จะเป็นตัวเสริมการออกฤทธิ์ ทางยากับกลุ่มสารแคนนาบินอยด์ เรียกการเสริมฤทธ์นี้ว่า “ Entourage effect” (อ่านต่อ...)
กระแสกัญชา-กัญชง มาแรงมากในแวดวงของธุรกิจอาหาร แต่ กัญชา-กัญชง ไม่ได้มีดีแค่เป็น ส่วนประกอบของการทำอาหารเท่านั้น แต่กัญชงยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างมากในด้านผิวพรรณ และความงามเนื่องจากสารสกัดจากเมล็ดกัญชงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์โดยตรงในด้านการฟื้นฟูผิว ซึ่งเป็นโอกาสครั้งใหญ่ของวงการสกินแคร์ (อ่านต่อ...)
|